เมนู

ปฏิปทา 4 เหล่านั้น ว่าโดยพระบาลี ได้จิต 36 ดวง แต่ว่าโดยอรรถ
(ใจความ) ได้จิต 20 ดวงเท่านั้น เพราะความที่ฌานจตุกนัยก็รวมอยู่ในฌาน
ปัญจกนัยแล.
ปฏิปทา จบ

อธิบายอารมณ์ของฌาน 4



บัดนี้ ชื่อว่า ฌานนี้มี 4 อย่าง แม้โดยประเภทอารมณ์ เหมือน
ประเภทปฏิปทา เพราะฉะนั้น เพื่อทรงแสดงประเภทอารมณ์นั้นแห่งฌานนั้น
จึงเริ่มคำเป็นต้น ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้อีก.
พึงทราบวินิจฉัยในรูปาวจรกุศลฌานนั้นมีคำเป็นต้น ว่า ปริตฺตํ ปริตฺ-
ตารมฺมณํ
(ฌานมีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย) ต่อไป ฌานใดไม่คล่องแคล่ว
(มีคุณน้อย) ไม่สามารถเป็นปัจจัยแก่ฌานในเบื้องบน ฌานนี้ ชื่อว่า ปริตตะ
ส่วนฌานใด เป็นไปในอารมณ์มีนิมิตเท่ากระด้ง หรือเท่าขันน้ำ ซึ่งขยายขึ้น
ไม่ได้ ฌานนี้ชื่อว่า ปริตตะ อารมณ์เป็นปริตตะของฌานนี้มีอยู่ เพราะเหตุนั้น
ฌานนั้น จึงชื่อว่า ปริตตารมณ์ (มีอารมณ์เล็กน้อย). ฌานใดคล่องแคล่ว
อบรมดีแล้ว สามารถเป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องบน ฌานนี้ ชื่อว่า อัปปมาณ. ฌาน
ใดเป็นไปในอารมณ์อันกว้างขวาง ฌานนั้นก็ ชื่อว่า อัปปมาณ เพราะกำหนด
นิมิตที่เจริญได้. อารมณ์เป็นอัปปมาณ มีอยู่แก่ฌานนั้น เพราะเหตุนั้น ฌานนั้น
จึงชื่อว่า อัปปมาณารมณ์ (อารมณ์ไม่มีประมาณ). อนึ่ง พึงทราบนัยที่
เจือกันเพราะความที่ลักษณะตามที่กล่าวแล้วเจือกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ธรรมหมวด 9 ไว้ 4 หมวด แม้ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ ดังพรรณนามาฉะนี้
อนึ่ง การนับจิตในประเภทแห่งอารมณ์นี้ เหมือนกับประเภทแห่งปฏิปทานั่นแล.
อารมณ์ของฌาน 4 จบ

อธิบายอารมณ์และปฏิปทาเจือกัน



บัดนี้ เพื่อแสดงนัย 16 ครั้ง เจือด้วยอารมณ์และปฏิปทา จึงทรงเริ่มคำ
เป็นต้นว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้. บรรดานัยเหล่านั้น ฌานพระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ในนัยแรกชื่อว่า หีนะ เพราะเหตุ 4 อย่าง คือ เพราะเป็น
ทุกขาปฏิปทา (ปฏิบัติลำบาก) เพราะเป็นต้นทันธาภิญญา (รู้ได้ช้า) เพราะเป็น
ปริตตะ (ไม่ชำนาญ) เพราะเป็นปริตตารัมมณะ (มีอารมณ์เล็กน้อย) ฌานที่
ตรัสไว้ในนัยที่ 16 ชื่อว่า ปณีตะ เพราะเหตุ 4 อย่าง คือ เพราะเป็น
สุขาปฏิปทา เพราะเป็นขิปปาภิญญา เพราะเป็นอัปปมาณะ (ชำนาญ) เพราะเป็น
อัปปมาณารัมมณะ (มีอารัมณ์ไม่มีประมาณ). ในนัยที่เหลือ 14 นัย พึงทราบ
ความเป็นหีนะและปณีตะ ด้วยเหตุหนึ่งเหตุสองและเหตุสาม.
ถามว่า ก็นัยนี้ท่านแสดงไว้เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะความเกิดขึ้นแห่งฌาน เป็นเหตุ.
จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงสุทธิกฌานในปฐวีกสิณด้วย
สามารถแห่งฌานจตุกนัย และฌานปัญจตุกนัย ทรงแสดงสุทธิกปฏิปทา และ
สุทธิการมณ์ในปฐวีกสิณด้วยสามารถแห่งฌานจตุกนัย และฌานปัญจกนัย
เหมือนกัน. บรรดาจตุกนัยและปัญจกนัยทั้งสองเหล่านั้น เทวดาเหล่าใด ย่อม
อาจเพื่อจะตรัสรู้สุทธิกฌานในปฐวีกสิณที่พระองค์แสดงอยู่ด้วยสามารถแห่งฌาน
จตุกนัย ก็ทรงแสดงจตุกนัยในสุทธิกฌานด้วยสามารถแห่งสัปปายะแก่เทวดา
เหล่านั้น.
เทวดาเหล่าใด ย่อมอาจเพื่อจะตรัสรู้สุทธิกฌานในปฐวีกสิณที่พระองค์
ทรงแสดงด้วยสามารถแห่งฌานปัญจกนัย ก็ทรงแสดงปัญจกนัย ด้วยสามารถ
แห่งสัปปายะแก่เทวดาเหล่านั้น.